วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2024

น้ำท่วม : กทม. “จะจมน้ำ” ย้อนดูคำเตือนจากรีนพีซและธนาคารโลก หลังปรากฏการณ์ทะเลหนุน

น้ำท่วม

ที่มาของภาพ, PANUMASSANGUANWONG

ภายในปี พ.ศ. 2573 หรือ ค.ศ. 2030 มากกว่า 96% ของพื้นที่กรุงเทพฯ อาจถูกน้ำท่วมหากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่กว่าปกติในรอบ 10 ปี…

ใจความหลักจากรายงานโดยกรีนพีซที่ตีพิมพ์เมื่อกลางปีที่ผ่านมาฟังดูน่ากังวลยิ่งขึ้นหลังเมื่อเช้านี้ (8 พ.ย.) เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ริมน้ำในพื้นที่ กรุงเทพฯ จ.สมุทรปราการ และ จ.นนทุบรี รวมถึงถนนหลายสายที่น้ำท่วมสูงจนรถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้

ขณะที่การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ยังดำเนินไป สิ่งที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และบางจังหวัดปริมณฑล ดูจะเป็นอีกสัญญาณเตือนหนึ่งว่าโลกจะได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศโลกที่แปรปรวนมากขึ้นเรื่อย ๆ หากมนุษย์ไม่สามารถจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้

บีบีซีไทยสำรวจประกาศเตือนภัยที่เผยแพร่ในเฟซบุ๊กของกรุงเทพมหานคร (กทม.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อคืนนี้จนถึงเช้าวันนี้ ไม่พบว่ามีการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมจากน้ำทะเลหนุนสูง มีเพียงการให้ข้อมูลว่าระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาในวันนี้ คาดการณ์โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ว่าน้ำขึ้นสูงสุดเวลา 09.55 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 2.16 ม.

ที่มาของภาพ, Thai news pix

น.ส. ธนวรรณ รอดกลับ ประชาชนใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เล่าเหตุการณ์ให้บีบีซีไทยว่า ระดับน้ำจากคลองลัดหลวง ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เช้า จนกระทั่งทะลักล้นประตูน้ำไหลเข้าท่วมชุมชนริมคลอง รวมถึงบ้านของเธอ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2554 ที่น้ำทะเลหนุนสูงจนท่วมบ้าน

สำหรับพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมจากน้ำทะเลหนุนสูงวันนี้ ได้แก่ กรุงเทพฯ (เขตยานนาวา เขตราษฎร์บูรณะ เขตบางพลัด เขตสัมพันธวงศ์) อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ (อ.พระประแดง และ อ.เมืองสมุทรปราการ)

ส่วนถนนที่มีรายงานน้ำท่วมสูงจนกระทบการจราจรอย่างหนัก เช่น ถ.พระราม 3 ถ.บางนา-ตราด ถ.สุขุมวิท (ช่วงสะพานข้ามคลองมหาวงษ์-หน้าโรงเรียนนายเรือ) ถ.รัตนาธิเบศร์ (จุดกลับรถใต้สะพานพระนั่งเกล้า) น. ถ.ราษฎร์บูรณะ (ช่วงสะพานข้ามคลองดาวคะนอง) และบริเวณสะพานกรุงธน เป็นต้น

ที่มาของภาพ, Thai News pix

คำเตือน

ย้อนไปเมื่อเดือน มิ.ย. กรีนพีซตีพิมพ์รายงานความเสียหายทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลแบบสภาวะสุดขีดใน 7 เมืองของเอเชียภายในปี 2573 หรือ ค.ศ. 2030 (The Projected Economic Impact of Extreme Sea-Level Rise in Seven Asian Cities in 2030) ซึ่งมีกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในนั้น

กรีนพีซระบุว่า เมืองชายฝั่งทั่วเอเชียกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากน้ำท่วมที่มากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุโซนร้อนที่เข้มข้นมากขึ้น โดยอ้างข้อมูลจาก คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) ที่เตือนว่า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ระหว่าง 0.43-0.84 เมตรภายในปี พ.ศ.2643

กรีนพีซยังระบุอีกว่า ตลอดศตวรรษที่ 21 พายุมีความเร็วลมรุนแรงซึ่งสร้างความเสียหายมากขึ้น คลื่นพายุซัดฝั่งที่สูงขึ้น และปริมาณน้ำฝนที่มีสภาวะสุดขีดมากกว่าในอดีต

ใจความสำคัญของรายงานชุดนี้เกี่ยวกับกรุงเทพฯ คือ “มากกว่า 96% ของกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2573”

“อุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี” หรือที่ในรายงานภาษาอังกฤษใช้คำว่า “ten-year flood” หมายถึงเหตุการณ์น้ำท่วมชายฝั่งที่เกิดจากคลื่นพายุซัดฝั่งและระดับน้ำขึ้นสูงสุด โดยมีโอกาส 10% ต่อปีที่จะเกิดน้ำท่วมสูงเกินระดับน้ำทะเล

นอกจากนี้ กรีนพีซบอกว่า หากเกิดปรากฏการณ์นั้นขึ้น สัปปายะสภาสถาน รัฐสภาแห่งใหม่ของไทยเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม กรุงเทพฯ จะได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวม 512,280 ล้านเหรียญสหรัฐ และประชากร 10.45 ล้านคนในนครหลวงอาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมชายฝั่งในปี พ.ศ.2573 โดยความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น 96% ของจีดีพี หรือตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของกรุงเทพฯ (มูลค่าดังกล่าวคิดเป็นดอลลาร์สหรัฐโดยสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อคิดตามหลักความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ หรือ purchasing power parity – PPP)

ที่มาของภาพ, Thai news pix

อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ ย้อนไปหลายปีก่อนหน้านี้ ธนาคารโลกเคยออกรายงานระบุว่า กรุงเทพฯ จาการ์ตา และโฮจิมินห์ซิตี้ เป็น “จุดเสี่ยง” ที่จะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น พายุเขตร้อนที่รุนแรง และฝนตกหนัก เนื่องจากภาวะโลกร้อน โดยยืนยันว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ความเสี่ยงที่ไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้

เมื่อปี 2561 ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของกรีนพีซ ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยว่า “หากเราไม่ทำอะไรเลย กรุงเทพฯ จะจมอยู่ใต้น้ำในเวลา 10-15 ปี เพราะการใช้ที่ดินและสูบน้ำบาดาล”

รายงานของธนาคารโลกชิ้นดังกล่าวบอกว่า กรุงเทพฯ มีโอกาสจะจมอยู่ใต้น้ำเป็นอาณาบริเวณกว้าง ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยความเสี่ยงนี้ เกิดจากภาวะโลกร้อนที่มีแนวโน้มรุนแรงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ ในตอนนั้น ผู้เชี่ยวชาญมองว่าที่ทางการเร่งดำเนินการเตรียมรับมือหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นขุดคลอง สร้างสถานีสูบน้ำ และอุโมงค์ใต้น้ำ เพื่อระบายน้ำออกหากเกิดวิกฤต เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น

คำบรรยายวิดีโอ,

กรุงเทพฯ : พื้นที่เสี่ยงจมใต้บาดาล

สมุทรปราการ

สมุทรปราการ

ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

No Content Available

หมวดบทความ

การก่อสร้าง การขนถ่ายสินค้า การค้าวัสดุก่อสร้าง การติดตั้งไฟฟ้าสายหลัก การปั้มโลหะ การผลิต การบรรจุก๊าซ การผลิตกาว การผลิตน้ำแข็ง การผลิตรองเท้า การผลิตเคมีภัณฑ์ การผลิตและบรรจุยา การผสม บรรจุ กรด ด่าง การรีดโลหะ ผลิตเหล็ก การหล่อหลอม การกลึงโลหะ การเคลือบ ชุบ อาบขัดโลหะ การเลี้ยงสัตว์ กิจกรรม ข่าว ตรวจหวย ธุรกิจ บริการซัก อบ รีด บริษัท ร้านค้า ร้านอาหาร วิถีชีวิต สถานที่ท่องเที่ยว สถานศึกษา สพป.สมุทรปราการ เขต 1 สพป.สมุทรปราการ เขต 2 สพม.เขต 6 สมาคม สำนักงานจัดการเดินทาง หน่วยงานราชการ อบต. เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ โรงงาน โรงพยาบาล บริการสุขภาพ โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนศิลปะและกีฬา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสามัญ โอทอป ให้เช่ายานพาหนะ

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.