‘ยุทธพงศ์’ ขยี้ปมสัมปทาน BTS เสนอ 5 ข้อ แนะมหาดไทยนำไปใช้
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคามและรองหัวหน้าพรรคพท. แถลงรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ BTS ว่า เมื่อวันอังคารที่ 19 ตุลาคม ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้ถอนวาระเสนอต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าBTSส่วนต่อขยายให้กับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ออกจากการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยพรรคเพื่อไทยได้อภิปรายไม่ไว้วางใจ เกี่ยวกับเรื่อง ความไม่ชอบมาพากลและความไม่โปร่งใสในการต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ออกไปอีก 40 ปีทั้งที่สัมปทานจะหมดอายุในปี 2572 อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มีความซับซ้อน โดยเส้นทางหลักหรือไข่ตั้งแต่หมอชิต-สะพานตากสิน-อ่อนนุชอีกเส้นทางหนึ่งคือบริเวณสนามกีฬา ผ่าน สยามสแควร์มายังสะพานตากสิน เส้นทางดังกล่าวเรียกว่าไข่แดงซึ่งอายุสัมปทานในปี 2572 และจะมีส่วนต่อขยายจากอ่อนนุชไปแบริ่ง และจากตากสินไปบางหว้า กรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายที่ทางกรุงเทพฯได้จ้างทางรถไฟฟ้า BTS วิ่ง รถไฟ ซึ่งสัญญาตรงนี้จะหมดในปี 2585 นอกจากนี้ยังมีส่วนต่อขยาย หมอชิตถึงคูคตและแบริ่งถึงเคหะ จังหวัดสมุทรปราการ
นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า การดำเนินการของกรุงเทพมหานครเริ่มจากปี 2555 ทางกทม.ได้ว่าจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด(KT) วิ่งรถส่วนต่อขยายสถานีสะพานตากสินไปบางหว้าโดยทางบริษัทได้ว่าจ้าง BTS จัดหาขบวนรถวิ่งถึง ปี 2585 ต่อมา ปี 2559 สมัยรัฐบาลรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้รับทราบมติ ของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มอบให้กทม.วิ่งรถแทน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกทม.ได้จ้าง KT เพื่อจ้างBTS ทั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกลและวิ่งรถถึงปี 2585 โดยวิธีวิเศษไม่มีการประมูลทั้งที่ยังไม่มีการโอนทรัพย์สินมาจาก รฟม. ในส่วนต่อขยายหมอชิตไปคูคตและแบริ่งไปสมุทรปราการ แล้วที่เป็นปัญหาคือในทุกวันนี้ทางกทม.ก็ยังไม่จ่ายเงินให้กับรฟม. จึงทำให้กระทรวงคมนาคมคัดค้าน ว่าจะไปวิ่งรถได้อย่างไร ในเมื่อทรัพย์สินยังไม่ได้เป็นของทางกทม.แต่ดันไปให้ BTS วิ่งรถและจากการไปวิ่งรถในส่วนต่อขยายก็ทำให้เป็นหนี้ 3 หมื่นล้านที่ทางBTS ฟ้องกทม.และKT อยู่ใน ขณะนี้ และปัญหาสำคัญคือ เมื่อรถวิ่งไฟฟ้าวิ่งบริเวณไข่แดงตรงนี้อยู่ในพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน แต่เมื่อออกจากไข่แดงไม่ได้อยู่ในพ.ร.บ.ดังกล่าวแต่เป็นการจ้างวิ่งที่กทม.โดยKTไปจ้างให้BTSวิ่งรถ ทั้งที่เป็นทรัพย์สินอยู่ในพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เป็นการจ้างวิ่งรถ ทั้งที่เป็นรถขบวนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติว่าทำไมถึงไม่เอาเข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
เมื่อกระทรวงมหาดไทยถอนเรื่องออกไปจากครม.สิ่งที่พรรคเพื่อไทยได้เห็นว่าเสนอให้ดำเนินการดังนี้
1. ให้ไปดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2562 มีกระบวนการขั้นตอนให้เป็นที่ยอมรับ ของ สาธารณรัฐประชาชน เปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน จากเอกชนซึ่งจะเกิดประโยชน์กับประชาชนผู้ใช้รถไฟฟ้า สายสีเขียวในการที่จะได้รับอัตราค่าโดยสารที่สอดคล้องกับต้นทุนและเกิดความเป็นธรรมกับประชาชน
2. อัตราค่าโดยสารที่กำหนดว่า 65 บาท ตลอดสายให้มีการจราจรในอัตราที่ถูกกว่านี้และเป็นธรรมเพราะหากสัญญาไข่แดงหมดทุกอย่างจะกลับมาเป็นของรัฐในปี 2572 ดังนั้นพอกลับมาเป็นของรัฐต้นทุนต่างๆจะต้องถูกลงเพราะทุกอย่างกลับมาเป็นของรัฐแล้วตรงนี้จะสามารถเอามาลดค่าโดยสารให้กับประชาชนผู้ใช้รถไฟฟ้าสายสีเขียวได้
3. การต่อขยายต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรีบเพราะสัญญา หมดในปี 2572 และในสัญญาบอกว่าถ้าบริษัทBTSมีความประสงค์ที่จะวิ่งไฟฟ้ากับกทม.จะต้องให้เวลามากกว่า 5 ปีและไม่น้อยกว่า 3 ปีในการเจรจา ซึ่งขณะนี้ เป็นปี 2564 ยังมีเวลาอยู่กว่าจะถึงในเวลาดังกล่าวจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเร่งรีบในการเจรจาเพื่อต่อขยายสัมปทานแต่อย่างใด
4. บริษัท BTS ฟ้องกทม. เกิดจากเมื่อปี 2561 ในส่วนต่อขยาย หมอชิตถึงคูคตและแบริ่งถึงสมุทรปราการ ไปจ้างให้ทาง BTS วิ่งรถแต่ไม่เก็บเงินค่าโดยสารตั้งแต่ปี 61 มา กทม.ใช้อำนาจอย่างไรถึงให้ประชาชนนั่งฟรีและเป็นหนี้ ในส่วนนี้จึงจะต้องไปไล่เบี้ยถึงผู้ที่เกี่ยวข้องที่เปิดให้นั่งฟรีและเป็นหนี้ถึง 3 หมื่นล้าน
5. สภาผู้แทนราษฎรได้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาเรื่องการต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้า BTS ออกไปอีก 40 ปีเมื่อปี 2562 และมติของสภาฯก็ไม่ให้มีการดำเนินการต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้าออกไปอีก 40 ปี ซึ่งตรงนี้เป็นข้อเรียกร้องที่พรรคเพื่อไทยมีท่าทีและจุดยืนมาโดยตลอดว่าคัดค้านและไม่เห็นด้วยต่อการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปอีก 40 ปีและให้ดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯที่มีเมื่อปี 2562